ใบเลื่อยตัดเหล็ก สีส้ม BERG หน้าเล็ก 1/2 นิ้ว
฿169
Variations


Description

ใบเลื่อยตัดเหล็ก สีส้ม BERG คุณภาพมาตรฐาน มอก. ใบเลื่อย ผลิตจากวัตถุดิบชั้นดี จากประเทศญี่ปุ่น ได้รับมาตรฐาน มอก. TIS 290-2521 หน้าเล็ก 1/2 นิ้ว มีให้เลือกใช้งาน ตามความเหมาะสม ทั้ง ใบเลื่อย 18 ฟัน และ ใบเลื่อย 24 ฟัน เหมาะสำหรับงานตัด ปานกลางถึงงานหนัก


ใบเลื่อยตัดเหล็กคุณภาพ มอก. ใบเลื่อย หรือชื่อต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ถนัดเรียกขาน ใบเลื่อยเป็นอุปกรณ์ของเครืองเลื่อย ที่มีความสำคัญมาก ทำหน้าที่ตัดเฉือนชิ้นงาน ใบเลื่อยทำจากเหล็ก ดังนั้นการประกอบใบเลื่อย เข้ากับโครงเลื่อย จะต้องประกอบให้ถูกวิธี และขันสกรูให้ใบเลื่อยตึงพอประมาณ เพื่อป้องกันไม่ให้ใบเลื่อยหัก ส่วนต่าง ๆ ของใบเลื่อยประกอบด้วยความกว้าง ความยาว ความหนา ความโตของรูใบเลื่อย และจำนวนฟันใบเลื่อย ซึ่งมีทั้งฟันหยาบและฟันละเอียด จำนวนฟันใบเลื่อยบอกเป็น จำนวนฟันต่อนิ้ว เช่น 18 ฟัน/นิ้ว 24 ฟัน/นิ้ว แต่ที่นิยม โดยส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 18 ฟัน ฟันเลื่อย เกิดจากการใช้เครื่องจักรกล ขึ้นรูปให้เป็นร่องทีชั้นของใบเลื่อย มีลักษณะคล้ายกับลิ่มเรียงซ้อนกัน ตามความยาวของใบเลื่อย โดยฟันเลื่อยแต่ละฟัน จะทำหน้าที่ตัดเฉือนเนื้อวัสดุ ในลักษณะถาก โดยแรงกด และแรงดันจากมือผู้ปฏิบัติงานเลื่อย ความหยาบ ละเอียดของฟันเลื่อย จะถูกกำหนดจำนวนฟัน ต่อความยาว 1 นิ้ว การเลือกใช้ฟันหยาบหรือละเอียด ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุและลักษณะงาน การเลือกฟัน ของใบเลื่อยก็มีความสำคัญ ต่อการตัดชิ้นงานมาก เพราะจะทำให้ ใบเลื่อยมีอายุการใช้งาน ที่ยาวนานมากขึ้น และเป็นการลดต้นทุน ให้กับคุณลูกค้าได้เป็นอย่างดี ใบเลื่อยฟันหยาบ (18 ฟัน) เหมาะกับงานขนาดใหญ่ ใบเลื่อยฟันละเอียด (24 ฟัน) เหมาะกับงานเล็กตัดเพลาเล็กๆ ตัดท่อ ตัดเหล็กกล่อง เหล็กฉาก


 

จุดเด่น

  • ใบเลื่อย คุณภาพมาตรฐาน มอก.เกรด Super High Carbon
  • ตัดได้คม ตรง และทน เหมาะสำหรับมืออาชีพ
  • ใบเลื่อยตัดเหล็ก หน้าเล็ก ขนาด 1/2 นิ้ว

 

รายละเอียด

  • ใบเลื่อย ผลิตจากวัตถุดิบชั้นดี จากประเทศญี่ปุ่น
  • ได้รับมาตรฐาน มอก. TIS 290-2521
  • ผลิตด้วยกรรมวิธี ที่ทันสมัย 60 HRC
  • ตัดเหล็ก,น๊อต,ไม้,พีวีซี ทั่วไปได้ดี
  • เหมาะสำหรับ งานตัดปานกลางถึงหนัก
  • มีให้เลือกใช้งาน ทั้งแบบ 18 ฟัน และ 24 ฟัน

 

วิธีการใช้งาน ใบเลื่อยตัดเหล็ก

  • ใส่ใบเลื่อย ให้ฟันเลื่อยชี้ไปข้างหน้า แล้วขันสกรูปรับใบเลื่อยให้ตึง
  • ยืนเลื่อยในตำแหน่งที่ถนัด และจับชิ้นงานให้แน่น
  • ใช้ความเร็วในการเลื่อย ควรใช้ระยะชักประมาณ 40-50 ครั้งต่อนาที
  • ชิ้นงานใกล้จะขาดให้ลดความเร็วลงเพื่อความปลอดภัย

 

การบำรุงรักษา

  • หลังจากใช้งานแล้ว ควรทำความสะอาดใบเลื่อยทุกครั้ง ด้วยการปัดด้วยแปรงให้เศษขี้เลื่อย หลุดออกจากฟันเลื่อย ก่อนที่จะทาด้วยน้ำมันเพื่อป้องกันสนิม
  • ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมอยู่เสมอ และควรเลือกใช้ตะไบที่มีขนาดเล็กที่พอดีกับฟันเลื่อย
  • นำไปเก็บไว้ในที่มิดชิด ไม่ให้มีความชื้น เพื่อป้องกันการเกิดสนิม