Description
โซเดียม อัลจิเนต (Sodium alginate)
โซเดียม อัลจิเนต (sodium alginate) เป็นสารประเภทพอลิแซกคาไรด์ ซึ่งกระจายตัวอยู่ในผนังเซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาล โดยจับอยู่กับน้ำในรูปของกาวหนืด และเป็นส่วนประกอบหลักของไบโอฟิล์มที่ผลิตโดยจุลินทรีย์ชนิด Pseudomonas aeruginosa ส่วนใหญ่มีสีอยู่ในโทนสีส้ม โดยมีตั้งแต่สีขาว ไปจนถึงสีน้ำตาล โดยทั่วไปจะขายในรูปของเส้นใย เม็ด และผง
อัลจิเนตสามารถสกัดได้จากสาหร่ายสีน้ำตาล และเก็บในรูปของโซเดียม อัลจิเนต ถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ และเภสัชกรรม เนื่องจากอัลจิเนตมีความปลอดภัย เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ โดยใช้เป็นสารทำให้เกิดเจล อัลจิเนตจากสาหร่ายสีน้ำตาลสายพันธุ์ต่าง ๆ มีโครงสร้างทางเคมีต่างกัน ทำให้มีลักษณะทางกายภาพต่างกัน โดยมีความแตกต่างกันในเรื่องของปริมาณ ความเป็นเจล และสี ทำให้สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายวิธี
การประยุกต์ใช้
กระประยุกต์ใช้ในการผลิตอาหาร
1. ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (Functional Food)
เนื่องด้วยคุณสมบัติของโซเดียม อัลจิเนต ที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
และมีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงมีการนำโซเดียม อัลจิเนต มาผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในเชิงการแพทย์
สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไขมันสูง และน้ำตาลในเลือดสูง เช่น การนำผลิตเจลลี่ น้ำผลไม้ สูตรลดน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคดังกล่าว
นอกจากนี้โซเดียม อัลจิเนตยังสามารถช่วยกำจัดสารโลหะหนักในร่างกายได้อีกด้วย
2. ผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อสัตว์ (Meat Products)
โซเดียม อัลจิเนต มีความสามารถในการลดการสูญเสียน้ำของผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ในกระบวนการให้ความร้อนได้ โดยโซเดียม อัลจิเนตจะสร้างเจลในผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความชุ่มน้ำ ส่งผลให้มีความหนึบ อร่อย และทำให้มีเนื้อสัมผัสดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มผลิตอีกด้วย ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตและช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์
3. เครื่องดื่ม (Beverages)
เนื่องจากโซเดียม อัลจิเนตเป็นสารพอลิแซกคาไรด์ที่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ดีอย่างยิ่ง สำหรับการผลิตเครื่องดื่ม โดยทำหน้าที่เป็นสารเพิ่มความข้นหนืดและเป็นสารช่วยให้เกิดอิมัลชั่น เช่น
- ช่วยป้องกันการแยกชั้นและตกตะกอนในการผลิตน้ำผลไม้
- ช่วยป้องกันการเกาะกลุ่มกัน (Agglutination) และตกตะกอนของโปรตีนในเครื่องดื่มนมหมัก (Leben)
- ช่วยป้องกันการเกิดไขและการตกตะกอนของโปรตีนในการผลิตเครื่องดื่มนม
4. ไอศกรีม (Ice Cream)
โซเดียม อัลจิเนตมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการขยายตัวของไอศกรีม ทำให้ได้เนื้อไอศกรีมที่มีความนุ่ม ละมุน และเนื้อสัมผัสดี เนื่องจากโซเดียม อัลจิเนตทำหน้าที่เป็นสารให้ความคงตัว (stabilizing agent) ไอศกรีมที่มีการเติมโซเดียม อัลจิเนตจะไม่เกิดเนื้อหยาบขณะเก็บรักษาและทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงการเกิดเกล็ดน้ำแข็งของสารให้ความคงตัวได้น้อยมาก นอกจากนี้โซเดียม อัลจิเนตยังช่วยให้ส่วนผสมของวัตถุดิบต่าง ๆ ผสมกันง่ายขึ้นอีกด้วย
5. เจลลี่ (Jelly)
โซเดียม อัลจิเนตทำหน้าที่เป็นสารให้ความคงตัวในการผลิตเจลลี่ เช่นเดียวกับ คาราจีแนน อาการ์หรือผงวุ้น และเป็นใช้เป็นส่วนผสมในการทำขนมโมจิหยดน้ำ หรือ
Mizu Shingen Mochi Recipe (水信玄餅 ぷるるん) ซี่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้
6. เบเกอรี (Bakery)
โซเดียม อัลจิเนตจะใช้เป็นสารทำให้เกิดเจลในส่วนของไส้พาย ทำให้ไส้พายให้มีความข้นหนืด สามารถอุ้มน้ำได้ และไม่ทำให้แป้งที่อยู่ภายนอกเสียสภาพหรือนุ่มเละเนื่องมาจากความชื้นจากไส้พาย นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของเนื้อทาร์ต ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารให้ความคงตัว ทำให้เนื้อทาร์ตอยู่ตัว และมีผิวเรียบน่ารับประทาน
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของโซเดียมอัลจิเนต
• ใช้เป็นสารพิเศษในการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ เช่น วัสดุกันน้ำ วัสดุกันไฟ เป็นต้น
• ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารในการเพิ่มคุณสมบัติบางประการ เช่น สารที่ช่วยให้ข้น (thickening agent) ในการผลิตเครื่องดื่มและไอศกรีม สารที่ทำให้เกิดเจล (gelling agent) ในการผลิตเจลลี่
• ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอวัยวะเทียมและพิมพ์ฟัน
• ใช้เป็นสารที่ช่วยให้ข้นสำหรับสีรีเอคทีฟ (reactive dyes) ในงานพิมพ์บนผืนผ้า เนื่องจากอัลจิเนตไม่ทำปฏิกิริยากับสีย้อมและซักทำความสะอาดง่าย ทดแทนการใช้แป้งซึ่งทำปฏิกิริยากับสีรีเอคทีฟ
• ใช้เป็นวัตถุดิบในเทคนิค micro-encapsulation
• ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตยา เช่น ยาบรรเทาอาการกรดไหลย้อน (Gaviscon)
• ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำแผลสำหรับแผลที่สารคัดหลั่งปริมาณมาก ๆ เช่น แผลกดทับ แผลเบาหวาน เป็นต้น
อ้างอิง
- Application of Sodium Alginate in Food