ร้านแนะนำ
นิตยสารสารคดี ฉบับ 435 มิถุนายน 2564 LGBTQ +
฿180
Quantity/ 29 items available
1


Description

เกือบ ๓๐ ประเทศทั่วโลกยอมรับการใช้ชีวิตคู่ของบุคคลเพศเดียวกัน ทั้งสามารถจดทะเบียนสมรส (marriage) และจดทะเบียนคู่ชีวิต (civil partnership) ได้ กล่าวคือ แต่เดิมสังคมทั่วไปมีการจดทะเบียนสมรสของคู่รักต่างเพศอยู่แล้ว แต่เมื่อผู้คนเริ่มหันมายอมรับความแตกต่างหลากหลายทางเพศกันมากขึ้น การจดทะเบียนคู่ชีวิตจึงเป็นหนทางแรกเริ่ม เพื่อให้คู่รักชาว LGBT+ สามารถมีสิทธิ์มีเสียง มีที่ทางในฐานะคู่ชีวิตเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ

.

ถึงกระนั้นการจดทะเบียนสมรสและการจดทะเบียนคู่ชีวิตยังมีข้อแตกต่างบางประการ เพราะบุคคลที่จดทะเบียนคู่ชีวิตยังคงมีสิทธิไม่เทียบเท่าบุคคลต่างเพศซึ่งจดทะเบียนสมรสกัน หลายประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนจึงค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตกลายมาเป็นการจดทะเบียนสมรสอย่างสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อที่ว่าไม่ว่าคู่รักจะมีเพศภาวะหรือนิยามตัวเองว่าอย่างไรย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันอย่างเท่าเทียม

.

กลับมามองกฎหมายของไทย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา ๑๔๔๘ กล่าวไว้ว่า “การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้”

.

กฎหมายมาตราดังกล่าวปรากฏเงื่อนไขของเพศชายและหญิงเท่านั้น จึงนำมาสู่ “ร่างแก้ไข ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๔๘” ซึ่งเสนอโดยพรรคก้าวไกล โดยมุ่งหวังจะแก้ไข “คำ” ที่ระบุเพศอย่างจำเพาะเจาะจง จากชายและหญิง ให้เป็น “บุคคล” หรือเรียกว่า “สมรสเท่าเทียม” เพื่อไม่ให้บุคคลผู้ไม่ใช่ชายจริงหญิงแท้ถูกผลักให้กลายเป็นคนชายขอบของกฎหมาย

ขณะผู้คนอีกส่วนหนึ่งแสดงความเห็นด้วยกับ “ร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิต” เสนอโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสิทธิการก่อตั้งครอบครัวสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ แม้สิทธิบางประการยังแตกต่างจากการจดทะเบียนสมรสชายหญิง แต่ก็มีความคาดหวังว่า พ.ร.บ. คู่ชีวิตฉบับนี้จะเป็นก้าวย่างครั้งสำคัญอันจะนำไปสู่การสมรสเท่าเทียมในท้ายที่สุด

.

เปลี่ยนผ่านสู่ความเสมอภาค “สมรสเท่าเทียม”

เรื่อง : นิสากรม์ ทองทา

สัมภาษณ์ : ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ภาพ : วรรษมน ไตรยศักดา

.

นิตยสารสารคดี ฉบับ 435 มิถุนายน 2564

LGBTQ+ เราเป็นใคร เราเป็นใคร ในประเทศไทย❤️

🏳️‍🌈🏳️‍🌈🏳️‍🌈