Description
ปุ๋ยโล่เขียว ใบเขียวเข้ม ช่วยให้พืชทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมมัน เขียว ถึก ทน
เป็นปุ๋ยที่ถูกวิจัยและออกแบบมาให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ และแก้ปัญหาเรื่องดิน ที่เจอกับแสงแดดที่ร้อนตลอดทั้งปี ปัญหาดินทราย ดินเหนียว และดินเป็นกรดในประเทศไทย โดยพัฒนาตามงานวิจัยที่พบว่า เมื่อดินเป็นกรด พืชจะนำแมกนีเซียมในดินมาใช้ได้น้อย รวมทั้งประเทศไทยเป็นพื้นที่แถบร้อน และมีดินทรายมาก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อการลดลงของธาตุที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง การใช้โล่เขียวจึงไปช่วยให้พืชสร้างคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชมีใบเขียวเข้ม สังเคราะห์แสงได้ดี นอกจากนี้ โล่เขียวยังมีส่วนช่วยให้ผนังเซลล์ มีความแข็งแรงในสภาวะที่ขาดน้ำ [1] ช่วยทนแล้ง ซึ่งทั้งหมดเป็นคุณสมบัติของ ธาตุแมกนีเซียม และ ธาตุสังกะสี ที่มีอยู่ในปุ๋ยโล่เขียว
จุดเด่นของปุ๋ยโล่เขียว
1. ช่วยให้ผนังเซลล์ของพืช (cell wall) มีความแข็งแรงมากขึ้นในสภาวะขาดน้ำ
เนื่องจากมีธาตุแมกนีเซียม ที่ไปส่งเสริมการสร้างผนังเซลล์ของพืชให้แข็งแรง เมื่อผนังเซลล์แข็งแรง จะทำให้ทนทานต่อ การเจาะเข้าของเชื้อโรค รวมทั้ง พบว่าช่วยให้พืชทนทานต่อการขาดน้ำในที่ดินทรายได้ดี จึงทำให้ ปุ๋ยโล่เขียว ช่วยเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ ร้อน ขาดน้ำได้ แต่ในทางกลับกัน ในสภาวะ น้ำท่วม หากพืชมีผนังเซลล์ที่แข็งแรง พบว่าจะทำให้ ระบบราก และลำต้นแช่น้ำได้นานขึ้น ทนต่อน้ำท่วมได้มากขึ้นกว่าปกติ
2. ช่วยเพิ่มผลผลิต เพราะการสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีว่า สาร คลอโรฟิลล์ เป็นสาระสำคัญในการสังเคราะห์แสง การใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้มีสารคลอโรฟิลล์ที่เข้มข้นมากขึ้นในใบพืช ทำให้ใบเขียวเข้ม
3. ช่วยให้พืชทนต่อโรคได้ดีขึ้น
นับเป็นประโยชน์ทางอ้อม เมื่อพืชมีผนังเซลล์ และความสมบูรณ์ของต้น จะทำให้ทนทานต่อโรค รวมทั้งตอบสนองต่อการป้องกันโรคได้ดีกว่าพืชที่มีผนังเซลล์ อ่อนแอ
4. พืชทนทานต่อสภาพอากาศที่ผิดปกติ คือ ทนต่อความชื้นได้ดีขึ้น ทนทานต่ออากาศร้อน รวมทั้งฝนและหนาว เรียกได้ว่า ใช้ปุ๋ยโล่เขียวจะช่วยส่งเสริมให้พืชปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปกติ
อัตราส่วนการใช้โล่เขียว ในพืชชนิดต่างๆ
นาช้าว
พร้อมยาคุมนา (ช่วง 7-10วัน) 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
ช่วงข้าวเริ่มแตกกอ (15-20 วัน) 200-300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
ช่วงข้าวอายุ (35-40 วัน) 200-300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
ไม้ผลและไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
อาทิ มะม่วง ส้ม เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ฝรั่ง ลองกอง มะนาว มะพร้าว มังคุด ทุเรียน น้อยหน่า ละมุด ชมพู่ เป็นต้น
ต้นมีขนาดเล็ก (ปลูกไม่นานเพิ่งแตกใบ) 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ก่อนระยะติดดอก 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ระยะติดผล (ผลเท่าหัวไม้ขีดไฟ) 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
***ระยะติดผลเท่าหัวไม้ขีดต้องระวัง พ่นเปียกหรือจี้ที่ผล จะทำให้มีผลกระทบต่อผลได้
ระยะหลังติดผล (ผลมีขนาดเต็มที่แล้ว) 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชผัก ผักกินใบ คะน้า กวางตุ้ง พริก หอม กระเทียม ผักชี มะเขือ กระเจี๊ยบ กะหล่ำปลี
ช่วงต้นกล้า (พืชอ่อน ใบเลี้ยงยังน้อย) 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ช่วงเจริญเติบโต (ผ่านระยะต้นกล้ามาแล้ว) 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
***กรณีต้นพืชปกติใช้ 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ถ้าเป็นกรณีที่ต้นพืชเป็นโรคให้ใช้ 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นห้ามจี้ใบ
พืชล้มลุก ผักตระกูลเถาเลื้อย(ต้นพืชแผ่กว้างไปกับพื้นดิน หรือเลื้อยไปกับไม้ค้ำจุน) เช่น แตงกวา แตงโม ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ
ช่วงต้นกล้า (พืชอ่อน ใบเลี้ยงอ่อน ลำต้นไม่แข็งแรงหรือยังไม่เขียวแก่) 10-15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ช่วงเจริญเติบโต (ผ่านระยะต้นอ่อน ต้นกล้ามาแล้ว) 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
***ไม่ควรฉีดพ่นช่วงแดดร้อน ไม่ฉีดพ่นจี้ที่ใบ ให้ฉีดพ่นผ่านๆ
พืชไร่ อ้อย ข้าวโพด ยางพารา ปาล์ม
ช่วงต้นกล้า (พืชอ่อน ใบเลี้ยงยังน้อย) 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ช่วงเจริญเติบโต (ผ่านระยะต้นอ่อน ต้นกล้าแล้ว) 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พืชตระกูลเก็บอาหารที่ราก หรือพืชที่ใช้สารอาหารในการเลี้ยงระบบราก เช่น มันสำปะหลัง หัวไชเท้า หน่อไม้ฝรั่ง มันชนิดต่างๆ เป็นต้น
ช่วงต้นกล้า (พืชอ่อน ใบเลี้ยงยังน้อย) 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ช่วงเจริญเติบโต (ผ่านระยะต้นอ่อน ต้นกล้ามาแล้ว) 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร