Description
ว่านหัวครู ว่านหายาก ขายเป็นหัวราก พร้อมปลูก หัวละ 69 บาท ว่านที่มีอานุภาพทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ว่านกายสิทธิ์มีเทวดารักษา
ว่านหัวครู ชื่ออื่น ว่านดิน (ลำปาง) เอื้องพร้าว (เชียงใหม่)
Eulophia spectabilis (Dennst.) Suresh
วงศ์ ORCHIDACEAE
ในประเทศไทยพบทั่วประเทศ ตามทุ่งโล่งและป่าดิบเขา ที่ระดับ ความสูง 200-2,100 เมตร และพบการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออก เฉียงใต้
กล้วยไม้ดิน มีเหง้าค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-6 ซม. ใบ แผ่แบน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 30-50 ซม. ทิ้งใบเมื่อ ผลิดอก ดอก เป็นช่อตั้งออกจากโคนกอ ยาว 60-100 ซม. กลีบ เลี้ยงและกลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือสีชมพูถึงสีแดงอมม่วง และมีแต้มสีเหลืองเข้มที่กลางกลีบปาก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2.5-3 ซม. ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน
ว่านหัวครูเป็นกล้วยไม้ดินที่มีหัวใต้ดิน (Rhizome) รูปร่างค่อนข้างกลมแบน ใบเรียวยาวรูปหอกแตกออกจากหัวใต้ดิน มีร่องหยักเป็นจีบคล้ายกล้าพืชตระกูลปาล์ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ออกดอกในช่วงต้นฤดูฝนและจะไม่ทิ้งใบในช่วงการออกดอก ช่อดอกมีเพียง 1 ช่อ ออกจากกาบเดียวกันที่หุ้มโคนก้านใบ ก้านช่อดอกยาวตรง มีจำนวนดอกย่อยได้มากถึง 25 ดอก เริ่มทยอยบานจากโคนก้านช่อไปทางปลาย ปลายกลีบโค้งงุ้มปรกเข้า กล้วยไม้ชนิดนี้มีสีของกลีบดอกที่แตกต่างกันมากตามสภาพภูมิประเทศที่พบ บ้างพบว่ามีสีน้ำตาลแกมแดง สีชมพูเข้ม ชมพูอ่อน แม้กระทั่งสีขาวบริสุทธิ์ พบการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และพบในสภาพป่าหลายแบบ ทั้งป่าพรุ ป่าสน และแม้ว่านหัวครูมีระบบรากดิน แต่ก็พบว่าขึ้นในซอกหินแบบ lithophytes ได้เหมือนกัน เรามักพบกล้วยไม้ชนิดนี้ได้ในจุดที่มีแสงน้อย เช่นใต้ต้นไม้ใหญ่ ริมที่ลุ่มน้ำชุ่มๆ หรือริมตลิ่ง แต่ก็พบว่ากล้วยไม้ชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตในที่กลางแจ้งได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างในเขตร้อนชื้นของทวีปเอเซีย ตั้งแต่ประเทศจีนตอนใต้ ศรีลังกา พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย