Description
ปรงญี่ปุ่น (Sago Cycad)
ชื่อไทยของพรรณไม้ชนิดนี้ มีชื่อทางการ ว่า "ปรงญี่ปุ่น" ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557) และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือ ชื่อท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น ปรงญี่ปุ่นแคระ, ปรงจีน, ปรงสาคู, ปาล์มสาคู, ฮ่องเต็ก เป็นต้น
ต้นปรงญี่ปุ่น มีลักษณะเป็น ปรงลำต้นสูง 3–7 ม. ลำต้นตั้งตรง สีน้ำตาลเข้ม ส่วนมากไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ผิวขรุขระจากรอยแผลใบ ใบเรียงหนาแน่น หนาเป็นสัน เกล็ดหุ้มยอดปลายเรียวแหลม
ใบปรงญี่ปุ่น ใบยาวได้ถึง 1.5 ม. หนาเป็นสัน ก้านใบยาว 6–10 ซม. ใบโค้งลง ใบเป็นขนนกและมีใบย่อยออกจากสองข้างเป็นจำนวนมาก ใบย่อยแคบแข็งปลายเป็นหนามแหลม ขอบม้วนงอ ใบสีเขียวเข้มโคน แยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อโคนเพศผู้รูปกระสวย เป็นช่อแน่น ทรงกระบอกแกมรี ยาว 30–60 ซม. ใบสร้างอับไมโครสปอร์เรียวแคบ ยาว 2.3–2.8 ซม. ปลายมนหรือตัด ปลายเป็นติ่งพับงอกลับ ยาว 4–8 มม. ใบสร้างอับเมกะสปอร์ยาว 12–20 ซม. มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น
แผ่นใบรูปไข่หรือกลม ยาว 5–12 ซม. ขอบและปลายจักลึกถี่คล้ายซี่หวี ยาว 2–2.8 ซม. ออวุลมี 2–6 เม็ด มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ส่วนโคนเพศเมีย ประกอบด้วยกาบเมกะสปอร์ซ้อนเรียงทับกัน กาบบนรูปไข่กลับ ขอบหยักลึก มีขนสีน้ำตาล
เมล็ดปรงญี่ปุ่น เมล็ดยาวประมาณ 2.5 ซม. เยื่อหุ้มสีแดง มีนวลเล็กน้อย
เมล็ดปรงญี่ปุ่น เมล็ดยาวประมาณ 2.5 ซม. เยื่อหุ้มสีแดง มีนวลเล็กน้อย
ประโยชน์ ปรงญี่ปุ่น
ต้นปรงญี่ปุ่น นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกประดับสวนหย่อม
การขยายพันธุ์ ปรงญี่ปุ่น
การขยายพันธุ์ปรงญี่ปุ่น ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และ แยกหน่อวิธีปลูก และ การดูแล ต้นปรงญี่ปุ่น
วิธีปลูกต้นปรงญี่ปุ่น เป็นพืชที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตช้ามาก คือ 1 ปีจะเกิดใบเพียงแค่ใบเดียวเท่านั้น ปรงญี่ปุ่นสามารถทนต่อการขาดน้ำได้เป็นอย่างดี และถ้าขาดน้ำนาน ๆ ใบของปรงญี่ปุ่นจะแห้งเหี่ยวไปแต่พอได้รับน้ำอีกครั้งใบก็จะเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ต้นปรงญี่ปุ่น ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำพอประมาณ ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย บำรุงใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง ไม่ค่อยมีโรครบกวนจะมีก็แต่แมลงจำพวกไรแดงและเพลี้ยหอย ควรใช้ยาประเภทดูดซึมเพราะปรงมีใบเล็กและลื่น