นิทานเด็กหนูไม่ใช่เด็กเล็ก
฿113฿125 -10%
Description
เรื่องราวของหนูน้อยพรูเนลล่า เด็กหญิงที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นเด็กโตแล้ว จึงพยายามเลิกทำกิจกรรมต่างๆ ที่เด็กเล็กทำกัน เช่น เลิกเล่นตุ๊กตาตัวโปรด เลิกเล่นสไลเดอร์เกลียว เลิกร้องเพลงA-B-C เลิกเล่นบทบาทสมมติในนิทาน เป็นต้น สุดท้ายแล้ว พรูเนลล่าจะเป็นเด็กโตแล้วจริงๆ หรือเปล่านะ...
พฤติกรรมของพรูเนลล่าในนิทานเรื่อง "หนูไม่ใช่เด็กเล็กนะ" ตรงกับทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของอีริคสัน ในขั้นที่ 2 คือ การพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง พรูเนลล่าเป็นตัวอย่างของเด็กที่คิดว่าตนเองโตแล้ว และแสดงออกโดยการทำสิ่งต่างๆ ที่คิดว่าเด็กโตทำกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ได้มองว่าสิ่งที่พรูเนลล่าทำเป็นเรื่องไร้สาระแต่กลับสนับสนุนให้พูเนลล่าทำความความคิดของตนเอง ทั้งยังคอยให้กำลังใจ และอยู่ข้างๆ เมื่อต้องการความช่วยเหลือ
การให้เด็กช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันและช่วยเหลือผู้อื่น จะช่วยส่งเสริมการนับถือตนเอง (Self-Esteem) ดังนั้นการฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองและมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างเหมาะสมกับวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถทำได้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน คุณหมอและนักการศึกษาหลายท่านให้ข้อมูลตรงกันว่า การมอบหมายหน้าที่ให้เด็กรับผิดชอบจะช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้า หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า EF ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เด็กจะต้องมีเป้าหมาย คือ การทำงานให้เสร็จ ส่งผลให้เกิดกระบวนการการวางแผน (Planning and Organizing) ว่าจะทำอะไรก่อน - หลัง และเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จะเป็นสถานการณ์ท้าทายให้เด็กได้แก้ปัญหา ซึ่งช่วยให้สมองส่วนการยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) การยืดหยุ่นความคิด (Shift / Cognitive Flexbility) และการควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) จะได้ทำงาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ การทำงานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย
พฤติกรรมของพรูเนลล่าในนิทานเรื่อง "หนูไม่ใช่เด็กเล็กนะ" ตรงกับทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของอีริคสัน ในขั้นที่ 2 คือ การพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง พรูเนลล่าเป็นตัวอย่างของเด็กที่คิดว่าตนเองโตแล้ว และแสดงออกโดยการทำสิ่งต่างๆ ที่คิดว่าเด็กโตทำกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ได้มองว่าสิ่งที่พรูเนลล่าทำเป็นเรื่องไร้สาระแต่กลับสนับสนุนให้พูเนลล่าทำความความคิดของตนเอง ทั้งยังคอยให้กำลังใจ และอยู่ข้างๆ เมื่อต้องการความช่วยเหลือ
การให้เด็กช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันและช่วยเหลือผู้อื่น จะช่วยส่งเสริมการนับถือตนเอง (Self-Esteem) ดังนั้นการฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองและมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างเหมาะสมกับวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถทำได้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน คุณหมอและนักการศึกษาหลายท่านให้ข้อมูลตรงกันว่า การมอบหมายหน้าที่ให้เด็กรับผิดชอบจะช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้า หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า EF ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เด็กจะต้องมีเป้าหมาย คือ การทำงานให้เสร็จ ส่งผลให้เกิดกระบวนการการวางแผน (Planning and Organizing) ว่าจะทำอะไรก่อน - หลัง และเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จะเป็นสถานการณ์ท้าทายให้เด็กได้แก้ปัญหา ซึ่งช่วยให้สมองส่วนการยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) การยืดหยุ่นความคิด (Shift / Cognitive Flexbility) และการควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) จะได้ทำงาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ การทำงานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย