Description
หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ รุ่นบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ พ.ศ. 2551 พิมพ์ 2
เนื้อว่าน
ขนาด
- สูง 3.3 ซม. / กว้าง 2 ซม.
พิมพ์มีเม็ดตาเนื้อดำหน้าใหญ่หน้ายิ้มจมูกโด่งสวยงามพระฟอร์มใหญ่สมบูรณ์ลักษณะพิเศษองค์นี้เนื้อยับๆย่น
เกิดจากคการเซ็ตตัวของเนื้อว่านความเเห้งของว่านตามอายุพระจัดอยู่ในประเภทพระสวยหายากพบเจอได้น้อยมาก
คิดเป็น%ประมาณ10%ของจำนวนพระทั้งหมดถือว่าน้อยมากๆจึงทำให้หายากหมุนเวียนให้เห็นน้อยมากคราบว่านไขว่านขึ้นพอสวย
ลายนิ้วมือด้านหลังองค์พระคมชัดสวยเม็ดเเร่มวลสารต่างๆโผล่ขึ้นมาจากเนื้อว่านกระจายทั่วองค์พระมีหลากสีสันชวนให้ศึกษา เช่น
เเร่ดำเเดงส้มขาวเเร่เงินระยิบระยับสวยงามดุจดังขุมทรัพย์หายากมากๆเนื้อหามวลสารเเห้งตามอายุธรรมชาติสร้างสรรค์ช่วยให้
ง่ายต่อการพิจารณาพระเเท้ในอนาคตไม่ต้องกังวน
หลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ รุ่นบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ 51(97/2)
หลวงปู่ทวดเนื้อว่านรุ่นเเรกของวัดช้างให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2497 พระครูวิสัยโสภณ(อาจารย์ทิม) อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี
ได้นิมิตฝันเห็นหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ต่อมาปีพุทธศักราช 2497 พระครูวิสัยโสภณ( อาจารย์ทิม)
ได้สร้างหลวงพ่อทวดรุ่นแรกเนื้อว่าน คุณอนันต์ คณานุรักษ์ เป็นผู้ให้ช่างออกแบบพิมพ์พระ พิมพ์ต่างๆ ซึ่งเป็นผู้นิมิตขวัญให้สร้าง
หลวงปู่ทวด เป็นรูปภิกษุชรา ซึ่งพระอาจารย์ทิม ได้เป็นผู้ จัดหาว่าน ที่จะนำมาสร้าง
ในครั้งนี้พระอาจารย์ทิมได้ขอช่วยชาวบ้านละแวกนั้น ให้ช่วยหาว่านที่ต้องการ มาถวายว่านที่เป็นส่วนผสมในการสร้างหลวงพ่อทวดรุ่นแรก
ของวัดช้างให้มีมากมายมากกว่า 200 ชนิด ซึ่งว่านแต่ละชนิด มีพุทธคุณ ความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวของว่านนั้นๆ
นิยมเรียกว่าน 108 ซึ่งเมื่อผสมรวมกัน พุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์จึงครบและครอบคลุม ทุกๆด้าน ครอบจักรวาลจึงเป็นที่มาของ ว่าน 108
ที่มาของคำว่าร้อยเเปดเป็นจำนวนที่เป็นมงคล มีความขลัง มีความศักดิ์สิทธิ์ จากนั้น เมื่อได้แม่พิมพ์พระทำจากคลั่งว่านชนิดต่างๆ และเนื้อหามวลสารที่ใช้ในการจัดสร้างพระครั้งนี้พร้อมแล้ว
พระอาจารย์ทิมเเละพระลูกวัดช่วยกันกดพิมพ์พระได้จำนวนหนึ่ง จนถึง ฤกษ์ปลุกเสก วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2497 ขึ้น 15 ค่ำโดยมีพระอาจารย์ทิม เป็นประธานในพิธี
และนั่งปรกอาราธนาอัญเชิญพระวิญญาณหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วิญญาณหลวงพ่อศรี หลวงพ่อทอง และ พระวิญญาณหลวงพ่อจันทร์
ซึ่งหลวงพ่อทั้งสามองค์สถิตอยู่รวมกันกับหลวงปู่ทวดในสถูปหน้าวัดช้างให้มาร่วมปลุกเสก หลังจากเสร็จพิธีของวันนั้น
พระอาจารย์ทิม พระลูกวัด และฆาราวาส ได้ช่วยกันแจกจ่ายพระเครื่องหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดให้แก่ประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธา
ไปบูชาครั้งนั้นได้รับเงินบุญโมทนามาสมทบทุนสร้างอุโบสถให้จนแล้วเสร็จ
ต่อมาชาวบ้านที่นำหลวงพ่อทวดไปบูชาเกิดประสบการณ์มากมายทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย นิรันตรายต่างๆ
จนหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ เป็นที่เลื่องลือโด่งดังจึงทำให้เป็นที่ต้องการของบุคคลทั่วไป นักเล่น นักสะสม ต่างแสวงหาเพื่อใช้พุทธคุณ
ปัจจุบันหลวงพ่อทวด เนื้อว่านรุ่นแรก 2497 หายากจึงเป็นที่หวงเเหงนของผู้ที่ครอบครอง จึงทำให้มีมูลค่า ราคาสูง
และมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของคนยุคหลัง****ต่อมา ในยุคของพ่อท่านหย่วน(เจ้าอาวาสวัดช้างให้ องค์ปัจจุบัน)
ได้เห็นว่าพระบรมธาตุเจดีย์ของวัดช้างให้ ได้ทรุดโทรมลงมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการบูรณะ พ่อท่านจึงพินิจพิเคราะห์
เล็งเห็นว่าน่าจะมีการจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อทวดขึ้น เพื่อหาปัจจัยไปบูรณะเจดีย์ของวัดช้างให้ให้สมบูรณ์สวยงามขึ้นและทรงคุณค่าแก่การสักการะ เเละอีกหลายวัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
ดังนั้นพ่อท่านหย่วนจึงตัดสินใจที่จะสร้างพระเนื้อว่านอันโด่งดังในอดีต ปี 2497 ขึ้นมาอีกครั้ง
แต่มีความคิดว่าต้องให้มีความต่างกับรุ่นแรก เพื่อมิให้ประชาชนทั่วไปและผู้ที่ชื่นชอบในการสะสมพระเครื่องรุ่นแรก ปี 2497 สับสน
จึงได้นำเเม่พิมพ์ของพระรุ่นเเรกเนื้อว่านพิมพ์กรรมการ ปี 2497มาถอดพิมพ์และตกแต่งพิมพ์ให้แตกต่างจากพระเนื้อว่านรุ่นเเรกเล็กน้อย
เเละได้จัดสร้างตามกรรมวิธีต้นตำหรับของวัดช้างให้ทุกขั้นตอนตามตำราโบราณ ของพระอาจารย์ทิม (อดีตเจ้าอาวาส) วัดช้างให้เเละยังได้นำมวลสารเก่า
เนื้อว่านเก่า ของพระอาจารย์ทิม ปี 2497 เป็นจำนวนมากที่ได้เก็บรวบรวมเอาไว้มาผสม ในการจัดสร้างหลวงพ่อทวดเนื้อว่านรุ่นบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ปี 2551(97/2) พ่อท่านหย่วน(เจ้าอาวาสวัดช้างให้ องค์ปัจจุบัน)
ได้ผสมเนื้อว่านเข้าด้วยกันตามตำราโบราณจากนั้นท่านได้เริ่มกดพิมพ์โดยวิธีการกดพระด้วยมือเเละได้ให้พระลูกวัดช่วยกันกดพิมพ์การกดพิมพ์พระทุกองค์จะท่องคาถากำกับไปด้วย
หลังจากท่านได้สร้างพระตามจำนวนที่ท่านต้องการแล้ว จึงนำพระทั้งหมดเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อุโบสถวัดช้างให้ โดยมีการปลุกเสกทั้งหมดสองครั้งด้วยกัน คือ
ปลุกเสกครั้งที่ 1 เมื่อ 25 มีนาคม 2551
ปลุกเสกครั้งที่ 2 วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2553 พร้อมเหรียญ เลื่อนสมณศักดิ์ 49/53 ณ.อุโบสถวัดช้างให้
รายนามพระเกจิอาจารย์เข้าพิธี พุทธาภิเษก
- เจ้าคณะจังหวัดสงขลา.
- พ่อท่านหย่วน เจ้าอาวาสวัดช้างให้.
- พ่อท่านฉิ้น วัดเมืองยะลา.
- พ่อท่านพล วัดนาประดู่
- พ่อท่าน เขียว วัดห้วยเงาะ
- ท่านจวน วัดยางแดง
- ท่านเพ็ง วัดทรายขาว
- ท่านพุ่ม วัดมะเดื่อทอง
- ท่านเอื่อม วัดมะปรางมัน
- ท่านเอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง
- หลวงปู่ ผัน วัดทรายขาว สงขลา ฯลฯ
จำนวนการสร้างทั้งหมดมี 5 พิมพ์
1.พิมพ์ใหญ่แบบที่1 (A) จำนวนการสร้าง 30000 องค์
2.พิมพ์ใหญ่แบบที่2 (B) จำนวนการสร้าง 30000 องค์
3.พิมพ์ใหญ่แบบที่3 (C) จำนวนการสร้าง 30000 องค์
4.พิมพ์พระรอดใหญ่ จำนวนการสร้าง 30000 องค์
5.พิมพ์พระรอดเล็ก จำนวนการสร้าง 10000 องค์