Description
เสือ หลวงพ่อปาน วัดมงคลเศธาวาส (วัดบางเหี้ย) จังหวัดสมุทรปราการ
เนื้อตะกั่ว
ขนาด
- สูง 2 ซม. / กว้าง 1.2 x 1.6 ซม.
หนึ่งในเบญจภาคีเครื่องรางไทย
คติในการสร้างเสือของหลวงพ่อปานนั้น เรื่องราวของท่านมีปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์
เสด็จประพาสมณฑลปราจิณ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
“เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้
คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง
ตามคติความเชื่อของคนเล่นของเชื่อว่า “เสือ” เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจราชศักดิ์ สำแดงฤทธิ์
ทำให้เป็นที่คร้ามเกรง นับถือแก่ปวงชนทั้งหลาย ผู้ที่พกหรือใช้เครื่องรางประเภทเสือ ไม่ว่าจะเป็น
เขี้ยวเสือแกะ ตะกรุดหนังเสือ ผ้ายันต์รูปเสือ รวมทั้งการสักยันต์ลายเสือ จะมีพุทธคุณเด่นด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด รวมทั้งมหาอุด
ถ้าหากนำติดตัวไปหนทางใกล้ไกล หรือเดินทางเข้าป่าดงพงพี เผชิญฝูงสัตว์ร้ายและภูตผี จะมิกล้าทำอันตรายใดๆ
เป็นคงกระพันมหาอุดและแคล้วคลาดเป็นที่สุด
นอกจากนี้แล้วยังมีคติความเชื่ออย่างหนึ่ง เรื่องการบริกรรมคา เชื่อกันว่ามีคาถาอยู่ ๒ บท
ที่คนมักใช้บริกรรม เพื่อบังเกิดมีสง่าราศี มีตบะเดชะ เป็นที่ครั่นคร้ามของคนทั้งปวงให้เกรงกลัว เช่น
ไปพบผู้ใหญ่ เจ้านาย รวมทั้งหรือเผชิญศัตรู
บทแรก คือ คาถาพญาเสือโคร่ง
ให้บริกรรมโดยเริ่มจากตั้งนะโม ๓ จบ และตามด้วย
“พยัคโฆ พยัคฆา สัญ ญา ลัพ พะ ติ อิ ติ หิ หัมม หึม”
บทที่สอง คือ คาถาพญาเสือมหาอำนาจ
ให้บริกรรมโดยเริ่มจากตั้งนะโม ๓ จบ
“ตะมัตถัง ปะกาเสนโต ตัวกูคือ พญาพยัคโฆ สัตถาอาหะ พยัคโฆ จะ วิริยะ อิมังคาถามะหะ อิติ ฮ่ำ ฮึ่ม ฮึ่ม”
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างอาคารเรียน 111 ป๊ บารมีหลวงพ่อปาน
ที่โรงเรียนหลวงพ่อปานวัดคลองด่านอนุสรณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
พุทธคุณ - เมตตา โชคลาภ บารมี แคล้วคลาด ศัตรูยำเกรง