Description
คุณสมบัติน้ำส้มควันไม้
น้ำส้มควันไม้แตกต่างจากน้ำส้มสายชู หรือน้ำส้มอื่น ๆ ที่ได้จากการหมัก หรือสังเคราะห์อื่น ๆ คือมีสารประกอบหลากหลายกว่า โดยเฉพาะฟีนอล ( PHENOL ) ซึ่งได้จากการสลายตัวของลิกนิน ( LIGNIN ) น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่าง ๆ มากกว่า 200 ชนิด ซึ่งได้จากกรสลายตัวของไม้ด้วยความร้อนเกิดเป็นสารประกอบใหม่หลายชนิด เช่น กรดอินทรีย์และแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ ได้จากการสลายตัวของเฮมิเซลลูโลส และเซลลูโลส ส่วนฟีนอลได้จากการสลายตัวของลิกนิน
น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบที่สำคัญได้แก่น้ำ ประมาณ 85% กรดอินทรีย์ ประมาณ 3% และสารอินทรีย์อื่น ๆ อีกประมาณ 12% มีค่าความเป็นกรด ( pH ) ประมาณ 3 ความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.012 – 1.024 แตกต่างกันไปตามชนิดของไม้
การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้
ใช้ในครัวเรือน
น้ำส้มควันไม้จัดได้ว่าเป็นน้ำส้มสารพัดประโยชน์ ที่เหมาะสมจะมีไว้ติดบ้านสามารถทดแทนการใช้สารเคมีได้ดังนี้
- ผสมน้ำ 20 เท่า ราดทำลายปลวกและมด
- ผสมน้ำ 50 เท่า ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่าง ๆ เช่น ตะขาบ ตะเข็บ แมงป่อง กิ่งกือ
- ผสมน้ำ 100 เท่า ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงไม่ให้วางไข่ฉีดพ่นถังขยะเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวันใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัว และบริเวณชื้นแฉะใช้ดับกลิ่นกรงสัตว์เลี้ยง
- ใช้หมักขยะสดและเศษอาหารเป็นปุ๋ยสำหรับไม้ประดับรอบบ้าน โดยต้องผสมน้ำอีก 5 เท่า หลังจากหมักแล้ว 1 เดือน
ใช้ในการเกษตร
น้ำส้มควันไม้ที่มีความเข้มข้นสูง มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่รุนแรง เนื่องจากมีความเป็นกรดสูง และมีสารประกอบ เช่น เมรานอล และฟีนอล ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อได้เมื่อเจือจาง 200 เท่า
จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ( ANTIBACTERIAL MICROBE ) จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น เนื่องจากได้รับสารอาหารจากกรดน้ำส้ม ( ACITIC ACID ) น้ำส้มควันไม้จึงสามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้ดี เช่น
- ใช้ผสมน้ำ 20 เท่าพ่นลงดิน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน เช่น โรคเน่าและจากแบคทีเรียโรคโคนเน่าจากเชื้อราไส้เดือนฝอย ฯลฯ ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้นจะเทียบเท่าการอบฆ่าเชื้อด้วยการรมควัน ( FUMIGATION ) ควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน เพราะน้ำส้มควันไม้ ที่รดลงดินจะไปทำปฏิกิริยากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เกิดคาร์บอนโมโนออกไซด์ ( CO ) ซึ่งเป็นพิษต่อพืช แต่เมื่อก๊าซคาร์บอนโมโนออกไซด์ที่ปฏิกิริยากับออกซิเจนเปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) แล้วจึงจะสามารถปลูกพืชได้ รวมทั้งพืชจะได้รับประโยชน์จาก CO2 ด้วย
- ใช้ผสมน้ำ 50 เท่า พ่นลงดิน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าทำลายพืชแล้ว หากใช้ความเข้มข้นมากกว่านี้ รากพืชอาจได้รับอันตรายได้
- ใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ การแช่เมล็ดข้าวที่เสื่อมคุณภาพตามธรรมชาติเนื่องจากผ่านการเก็บรักษา 10 เดือนในน้ำส้มควันไม้เจือจาง 300 เท่า เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เมล็ดมีความงอกร้อยละ 96.67 ซึ่งสูงกว่าเมล็ดที่ไม่ผ่านการแช่และแช่ด้วยน้ำส้มควันไม้
- ใช้ผสมน้ำ 200 เท่า ความเข้มข้นระดับนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ใช้ฉีดพ่นที่ใบพืช
การใช้ประโยชน์ทางด้านปศุสัตว์
ใช้ลดกลิ่นและแมลงในฟาร์มปศุสัตว์โดยผสมน้ำ ใช้ผสมอาหารสัตว์ เพื่อช่วยการย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย
- ช่วยลดและดับกลิ่น, ขับไล่แมลงในคอกสัตว์ โดยผสมน้ำฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง อัตราการใช้: น้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน หรือ น้ำส้มควันไม้ 1 ฝา(ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ น้ำส้มควันไม้ 20 ฝา(ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 20 ลิตร
- ใช้กำจัดเห็บ หมัด และรักษาโรคเรื้อนของสัตว์ โดยใช้เช็ด ทาบริเวณผิวหนังสัตว์ ตรงบริเวณที่เป็น สัปดาห์ละ2-3ครั้ง อัตราการใช้: ใช้น้ำส้มควันไม้แบบเข้มข้น(ไม่ต้องผสมน้ำ)
- ใช้ป้องกันเห็บ หมัด และโรคเรื้อนของสัตว์ ขับไล่แมลงรบกวน โดยผสมน้ำ และใช้ผ้าชุบเช็ดตัวสัตว์ สัปดาห์ละครั้ง อัตราการใช้: น้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน หรือ น้ำส้มควันไม้ 1 ฝา(ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ น้ำส้มควันไม้ 20 ฝา(ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 20 ลิตร