Description
คุณผู้อ่าน ท่านที่เคารพครับ
การแปลหนังสือภาษาพม่า ผู้แปลต้องมีความรู้ที่เหมาะสม โดยเฉพาะไวยากรณ์นั้น ผู้แปลพึงรู้ทั้งหลักและเห็นตัวอย่างประโยค
ที่อธิบายความนัยแห่งไวยากรณ์นั้นด้วย หนังสือ “A Burmese Reader” เล่มนี้ เป็นหนังสือที่มีหลักไวยากรณ์ และ
ตัวอย่างประโยคเหมาะสำหรับฝึกแปลภาษาพม่าเป็นอย่างยิ่ง
A Burmese Reader โดย R.F SL Andrew ST.John ยกเอางานวรรณกรรมภาษาพม่าเรื่อง သုဓမ္မစာရီဖြတ်ထုံး
ขึ้นเป็นตัวอย่างแปล อธิบายคำศัพท์ต่าง ๆ ประกอบกับการวิเคราะห์หลักไวยากรณ์ของ Adoniram Judson
เป็นหนังสือที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับนักอ่านทั่วไป ที่ต้องการเรียนรู้การแปลภาษาพม่าอย่างรวดเร็วและครอบคลุมถึงหลักไวยากรณ์ด้วย
หนังสือนี้จัดพิมพ์โดย Oxford University Press Publication date: 1894 หนังสือต้นฉบับปรากฏตัวหนังสือกลมมีรอยหมึกเข้มข้น
ถึงขนาดแยกพยัญชนะที่มีรูปสัณฐานคล้ายคลึงกันไม่ออกจึงทำให้อ่านยาก ดังนั้น ผมจึงจัดพิมพ์ใหม่
โดยเรียบเรียงให้เหมาะสมต่อเนื้อหาการสอนชั้นไวยากรณ์ในห้องเรียนด้วย
งานวรรณกรรมเรื่อง သုဓမ္မစာရီဖြတ်ထုံး ( The Decisions of Princess Sudhammacari.) ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ
และภาษาฝรั่งเศสแล้ว เรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่างในหนังสือนี้ เป็นภาษาพม่า R.F SL Andrew ST.John ได้วิเคราะห์คำ (analysis)
และอธิบายหลักไวยากรณ์ ของ Judson (Adoniram Judson) และยังขยายความหมายของคำในแต่ละบทด้วย
ความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ ได้ชัดขึ้น
หนังสือ A Burmese Reader by RF. St. ANDREW St. John และ ไวยากรณ์ของ Adoniram Judson
นี้ถูกใช้อ้างอิงในการเรียนภาษาพม่าที่ ศูนย์พม่าศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยโตรันโต (แคนาดา) ด้วย
ภาษาพม่ามีรูปแบบการเรียงจากซ้ายไปขวา ไม่มีช่องว่างระหว่างคำ ต้องสังเกตการเว้นคำจากคำบ่งชี้ทางไวยากรณ์บ้างจากเครื่องหมายต่าง ๆ บ้าง ๑๑ บทแรกในหนังสือนี้ ได้เรียงภาษาพม่าแบบเว้นระยะห่างเป็นคำ ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกออกเสียงด้วย ฝึกแปลเป็นคำ ๆ ด้วย ส่วนตั้งแต่บทที่ ๑๒ เป็นต้นไปนั้น จัดเรียงคำไม่มีช่องว่าง เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตการจัดแบ่งคำและประโยคด้วยคำบ่งชี้ทางไวยากรณ์ ในส่วนท้ายของหนังสือ ผมเพิ่มไวยากรณ์ของ Adoniram Judson ไว้ด้วยแล้ว โดยผู้อ่าน ไม่ต้องไปสืบค้นหลักไวยากรณ์นั้น ในหนังสืออื่นอีกต่างหาก หนังสือเล่มนี้ ผมเรียบเรียงขึ้น เพื่อใช้ประกอบการสอนภาษาพม่า “ระดับชั้นไวยากรณ์” ในหลักสูตรฝึกอบรมทั่วไป โดยคงเนื้อหาจากต้นฉบับไว้มิได้เปลี่ยนแปลงแปลง เพื่ออธิบายขยายความในห้องเรียน ดังนั้น การใช้หนังสือเล่มนี้ให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง จึงควรเข้าอบรมภาษาพม่า “ระดับชั้นไวยากรณ์” ด้วย
หากท่านมีความเพียรไม่ย่อหย่อน จักสำเร็จในการเรียนสมปรารถนา ความดีงามทั้งหลายอันเกิดจากความสำเร็จของท่าน เป็นความภาคภูมิใจของบุรพาจารย์ผู้เขียนงานอันเอกอุนี้ไว้ และขออุทิศความดีงามนั้น แด่ท่านทั้งหลาย ดังกล่าวนามมาแล้ว
คารวะ
ส.มะริด (อูส่วยตาน) ๒๕๖๔ กรุงเทพ
ขนาดเล่ม B5
ปกอ่อนสี เคลือบเงา
กระดาษถนอมสายตา
จำนวน 300 หน้า